พ.ร.บ. รถยนต์ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยประเภทนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ หากฝ่าฝืนใช้งานรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. หรือหมดอายุ จะต้องถูกระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

พ.ร.บ. รถยนต์ 2564

พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง ?

พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงทีโดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่  ซึ่งมีรายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้

1.วงเงินค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

1.1 ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ (ตามจริง) 30,000 บาทต่อคน
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาทต่อคน

2.วงเงินค่าเสียหายที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น (จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิด (ฝ่ายผิด))

2.1 ค่ารักษาพยาบาลจากอาการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
2.2 สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร / ทุพพลภาพสิ้นเชิง 200,000 – 500,000 บาทต่อคน
2.3 การเสียชีวิต 500,000 บาทต่อคน
2.4 ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน

อัตราค่าใช้จ่าย ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ปี 2564

อัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลเป็นแบบคงที่ขึ้นอยู่กับประเภทรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ราคาทั้งหมดยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

รถยนต์โดยสาร

  • รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง บาทต่อปี

รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า

  • รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาทต่อปี

การต่อภาษีสามารถต่อล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือ 90 วันก่อนที่ภาษีรถยนต์จะหมด

พ.ร.บ. รถยนต์ 2564
ภาพตัวอย่าง พรบ. รถยนต์

ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ออนไลน์ผ่าน e-Service

1. เข้าไปยังเว็บไซต์   https://eservice.dlt.go.th

2. Log-in เข้าสู่ระบบ หรือถ้าคุณยังไม่เคยต่อภาษีแบบออนไลน์  “เลือกลงทะเบียนสมาชิกใหม่”

3. จากนั้นเลือก “ชำระภาษีรถประจำปี” ในเมนูย่อยเลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”

4. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถและยื่นชำระภาษี และกรอกรายละเอียดหลักฐานการเอาประกันตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือซื้อจากระบบ

5. กรอกข้อมูลที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารให้ครบถ้วนและถูกต้อง

6. เลือกช่องทางชำระเงิน (หักบัญชีเงินฝาก/ตัดบัตรเครดิต/บัตรเดบิต/ชำระผ่านตู้ ATM/เคาน์เตอร์/โมบายแบงค์กิ้ง)

7.   การตรวจสอบสถานะสามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”

อัตราค่าบริการ

  • ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของยอดเงินทั้งหมด